อิเหนาไปช่วยงานศพอัยยิกาที่เมืองหมันหยา
|
|
|
๏ เมื่อนั้น
|
ระเด่นมนตรีศรีโอรสา
|
ครั้นรุ่งรางสร่างแสงสุริยา
|
เสด็จมาสระสรงสรรพางค์
ฯ
|
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ
|
๏ ลูบไล้สุคนธาอ่าองค์
|
น้ำมันจันทน์บรรจงทรงพระสาง
|
สอดใส่สนับเพลาพลาง
|
ทรงภูษาแย่งอย่างลายกระบวน
|
ฉลององค์โหมดม่วงร่วงระยับ
|
อบอุหรับจับกลิ่นหอมหวน
|
เจียระบาดตาดทองแล่งล้วน
|
เข็มขัดคาดค่าควรพระนคร
|
กรองศอสังเวียนวิเชียรช่วง
|
ทับทรวงสังวาลห้อยสร้อยอ่อน
|
ตาบกุดั่นประดับซับซ้อน
|
ทอกรเก้าคู่ชมพูนุท
|
ธำมรงค์เพชรแพรวแวววับ
|
กรรเจียกปรับรับทรงมงกุฎ
|
เหน็บกริชฤทธิรอนสำหรับยุทธ์
|
งามดั่งเทพบุตรบทจร
ฯ*
|
ฯ ๘ คำ ฯ บาทสกุณี
|
ร่าย
|
|
๏ มาทรงรถแก้วแววไว
|
เสนาในกราบกรานอยู่สลอน
|
สั่งให้ยกโยธาพลากร
|
บทจรออกจากนิเวศน์วัง
ฯ
|
ฯ ๒ คำ ฯ
|
โทน
|
|
๏ รถเอ๋ยราชรถแก้ว
|
จำหลักลายพรายแพร้วพลอยฝัง
|
งามงอนอ่อนแอกแปรกบัง
|
บุษบกที่นั่งบัลลังก์ลอย
|
หน้ากระดานฐานปัทม์บัวหงาย*
|
กระจังรายรจนาตาอ้อย
|
กระหนกเกรินท้ายรถชดช้อย
|
เพลาพลอยประดับทับทิมแดง
|
เทียมสินธพที่นั่งทั้งสี่
|
สารถีขี่ขับเข้มแข็ง
|
ทหารม้าเกณฑ์หัดจัดแจง
|
เดินแซงสองข้างมรคา
|
ประดับด้วยเครื่องสูงชุมสาย
|
ธงชายปลายเชือกนั้นนำหน้า
|
เยียดยัดจัตุรงค์โยธา
|
ไคลคลามาในไพรพนม
ฯ
|
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด
|
ชมดง
|
|
๏ เดินเอยเดินทาง
|
สองข้างพ่างพื้นรื่นร่ม
|
พี่เลี้ยงเคียงคอยบังคม
|
พระชี้ชมรุกขาชาติดาษเดียร
|
บ้างผลิดอกออกผลพวงดก
|
ดั่งไม้ฉากกระจกจีนเขียน
|
ป่าระหงดงยางนางตะเคียน
|
ใต้ต้นแลเตียนสะอาดตา
|
มะลิวัลย์พันพุ่มคัดเค้า
|
ฤดูดอกออกขาวทั้งราวป่า
|
บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี้ยวกิ่งเหมือชิงช้า
|
ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว
|
ร่มรังบังแสงทินกร
|
ที่หาบคอนเรื่อยล้าเข้าอาศัย
|
สารวัดรัดเร่งพลไกร
|
คลาไคลไปตามมรคา
ฯ
|
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด*
|
ร่าย
|
|
๏ แต่แรมร้อนนอนในพนาเวศ
|
มาถึงเขตนครหมันหยา
|
หยุดประทับยับยั้งโยธา
|
เสด็จขึ้นพลับพลาพนาลี
ฯ
|
ฯ ๒ คำ
ฯ เสมอ เจรจา
|
๏ บัดนั้น
|
ขุนด่านแจ้งความถ้วนถี่
|
จึงเหยียบโกลนโผนเผ่นขึ้นพาชี
|
ขับขี่ตีควบเข้าเวียงชัย
ฯ*
|
ฯ ๒ คำ ฯ เชิด
|
๏ ครั้นถึงจึงตรงไปหา
|
ทั้งสี่เสนาผู้ใหญ่
|
เรียนคดีชี้แจงให้แจ้งใจ
|
โดยนัยอนุสนธิ์แต่ต้นมา
|
ฯ ๒ คำ ฯ
|
๏ บัดนั้น
|
เสนีได้ฟังไม่กังขา
|
ก็เข้าไปในพระโรงรัตนา
|
กราบทูลกิจจาทุกประการ
|
บัดนี้อิเหนากุเรปัน
|
ยกพวกพลขันธ์มาถึงด่าน
|
จะเข้ามาประณตบทมาลย์
|
ภูบาลจงทราบพระบาทา
ฯ
|
ฯ ๔ คำ ฯ
|
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment