พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี
ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
ธรณินทราธิราช
รัตนากาศภาสกรวงศ์
องค์ปรมาธิเบศ
ตรีภูวเนตรวรนายก
ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย
สมุทัยดโรมนต์
สากลจักรวาฬาธิเบนทร
สุริเยนทราธิบดินทร์
หริหรินทรา
ธาดาธิบดี
ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ
ฤทธิราเมศวรมหันต
บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย
พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์
ภูมิทรปรมาธิเบศ
โลกเชษฐวิสุทธิ
รัตนมกุฎประกาศ
คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร
พระพุทธเจ้าอยู่หัว
พระ ปรมาภิไธยที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ เหมือนกันทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน ในแต่ละพระองค์ จนในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ ๔ ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือปรเมนทร์" เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่ เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ ๑ ว่าแผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่าแผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ ๓ จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ ๑ และ ๒ เพราะเหตุเช่นนั้น จะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคลล
พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ
ขอบพระคุณ : http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1054.0
ขอบพระคุณ : http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1054.0
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment